วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

หล่อเรซิ่น

หล่อเรซิ่น
เงินลงทุน
- ประมาณ 1,500 บาทขึ้นไป
ยางซิลิโคน ขวดละ 800 บาท เรซิ่นขวดละ 100 บาท ตัวทำปฏิกิริยา (หรือตัวทำให้แข็ง) ขวดละ 30 บาท
รายได้ขึ้นอยู่กับฝีมือและรูปแบบของชิ้นงาน ถ้างานละเอียดราคาขายจะสูงหรืองานบางชิ้นลงทุนเพียงแค่ 10 บาท แต่ขายได้ถึง 20 -30 บาท

วัสดุ / อุปกรณ์
1. ยางซิลิโคน มีลักษณะเหลวข้น สีขาวขุ่น ขายเป็นชุดพร้อมตัวทำให้แข็ง
2. โพลิเอสเทอร์ เรซิ่น เป็นน้ำเหลวใสข้น
3.ตัวเร่งปฏิกิริยา(โคบอลท์ ) เป็นของเหลวสีม่วง มีหน้าที่ควบคุมเวลาการแข็งตัว ใส่มากเรซิ่นจะแข็งตัวเร็ว ถ้าใส่น้อยจะแข็งตัวช้า
4. ตัวทำปฏิกิริยาหรือตัวทำให้แข็ง เป็นของเหลวใส เป็นตัวทำให้เรซิ่นแข็งตัว
5. ผงทัลคัม เป็นแป้งชนิดหนึ่ง ใช้ผสมในเรซิ่นเพื่อให้เนื้อชิ้นงานทึบแสง
6.ปูนปลาสเตอร์ใช้ทำพิมพ์ครอบพิมพ์ยางซิลิโคน เพื่อรักษารูปทรงของยางแม่พิมพ์ หรือใช้ผสมกับเรซิ่น
7. สีน้ำมันกระป๋อง ใช้ผสมในเรซิ่น อาจใช้เฉพาะแม่สี (เหลือง แดง น้ำเงิน)
8 พู่กัน ใช้ทายางซิลิโคนลงบนชิ้นงาน หรือใช้หล่อเรซิ่น
9. ทินเนอร์ สำหรับล้างพู่กันให้สะอาดเวลาทำพิมพ์ซิลิโคนหรือหล่อเรซิ่น
10. วาสลีน ใช้ทาบนยางซิลิโคนหรือตัวต้นแบบกันยางติดกัน
11. ภาชนะผสม ใช้ถ้วยพลาสติก เพราะราคาถูกและไม่ติดเรซิ่น


วิธีทำ
ขั้นตอนการทำแม่พิมพ์ซิลิโคน
1. นำกระดาษแข็งหรือวัสดุพื้นเรียบมาตัดเป็นสี่เหลี่ยมให้มีขนาดใหญ่กว่า ต้นแบบ เพื่อทำเป็นพื้นรองต้นแบบ
2. นำต้นแบบที่จะทำแม่พิมพ์มาทากาวหรือติดเทปกาว 2 หน้า ด้านหลัง เพื่อให้รูปต้นแบบติดกับพื้นรอง เวลาทายางซิลิโคนจะได้อยู่กับที่
3. ทาน้ำมันหรือวาสลีนลงบนต้นแบบ เพื่อกันพิมพ์ยางติดกับต้นแบบจนแกะไม่ออก
4. เทยางซิลิโคนสักเล็กน้อย ลงในภาชนะผสม (การผสมยางซิลิโคนแต่ละครั้ง อย่าผสมครั้งละมากๆ จะทำให้ทาลำบากและสิ้นเปลืองยางซิลิโคน ) เกินไป
5. ผสมน้ำยาตัวทำให้แข็งลงไปในยางซิลิโคนประมาณ 2-5 ส่วนของยางซิลิโคน คนให้เข้ากัน
6. ใช้พู่กันจุ่มยางที่ผสมแล้วทาลงบนต้นแบบให้ทั่วทุกซอกทุกมุมเพื่อกันการเป็นฟองอากาศ
7. รอยางแห้งดีแล้ว (ประมาณ 40 นาที) จึงผสมยางซิลิโคนใหม่ทาอีก 2-3 ครั้ง เพื่อให้พิมพ์มีความหนาตามต้องการ
8. เมื่อยางแห้งดีแล้ว ผสมปูนปลาสเตอร์กับน้ำในอัตราส่วน 1:1 โดยโรยปูนลงในน้ำแล้วคนด้วยมือจนมีความหนืด นำไปทาบนพิมพ์ยางเพื่อให้เป็นพิมพ์ครอบกันพิมพ์ยางเสียรูปทรง
9. เมื่อปูนปลาสเตอร์แข็ง จึงแกะพิมพ์ครอบ พิมพ์ยางซิลิโคนตามลำดับ นำพิมพ์มาตัดแต่งส่วนเกินออกให้เรียบร้อยก็จะได้แม่พิมพ์ยางซิลิโคนที่เสร็จสมบูรณ์พร้อมจะนำไปหล่อเรซิ่น
ตัวอย่างวิธีทำ
สองล้อโคราชหล่อเรซิ่น ตอนที่1

สองล้อโคราชหล่อเรซิ่น ตอนที่2

สองล้อโคราชหล่อเรซิ่น ตอนที่3


ขั้นตอนการหล่อเรซิ่น
1. เทตัวเร่งปฏิกิริยา (โคบอลท์) ผสมกับเรซิ่นในอัตรา 20 หยด /1 กิโลกรัมคน ให้เข้ากัน (จะมีสีชมพูอมม่วงจาง ๆ ) ถ้าต้องการให้ชิ้นงานเป็นสีก็ใส่สีลงไปสักเล็กน้อย หรือถ้าต้องการให้ทึบก็ใส่ผงทัลคัม ปูน หรือสีขาว
2. ใส่ตัวทำให้แข็งลงไปในเรซิ่นที่ผสมแล้ว (ข้อ1) 25 หยด คนให้เข้ากัน
3. เทเรซิ่นที่ผสมแล้วในข้อ 2 ลงไปในแม่พิมพ์ (ถ้าเป็นงานละเอียด ให้ใช้พู่กันช่วยทาเรซิ่นบนแม่พิมพ์เพื่อกันการเป็นฟองอากาศ)
4. ทิ้งให้เรซิ่นแข็งตัว (ประมาณ 1 ชั่วโมง) แกะพิมพ์ออก นำชิ้นงานมาตกแต่งรายละเอียดส่วนเกินต่าง ๆ ก็จะได้ผลงานที่สำเร็จสวยงาม

ตลาด/แหล่งจำหน่าย
ร้านกิ๊ฟช๊อป ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า
สถานที่ฝึกอบรม
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครใต้ โทร. 211-2052, 211-2056

ข้อแนะนำ
1. การหล่อเรซิ่น ถ้าใส่ตัวเร่งปฏิกิริยามากเกินไปจะทำให้เรซิ่นแข็งตัวเร็ว สีเรซิ่น จะเปลี่ยนหรืออาจทำให้ชิ้นงานแตกร้าวได้ แต่ถ้าใส่น้อยเกินอาจทำให้ไม่แข็งตัว
2. ถ้าเรซิ่นแข็งเป็นบางส่วน แสดงว่าผสมตัวทำให้แข็งไม่เข้ากันดีพอ
3. ในกรณีที่ชิ้นงานเป็นสีขาว หากต้องการให้มีสีต่างๆให้ใช้สีอะครีลิกระบาย สีเพิ่มเติมตามต้องการ
-----------------------------------


ที่มา
ส่งเสริมการมีงานทำ , กอง กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม,"ทำเรซิ่น,"
150 อาชีพเส้นทางประกอบอาชีพอิสระ.กรุงเทพฯ , 2544 ,หน้า 177.
Youtube สองล้อโคราชหล่อเรซิ่น 1,2,3

เรซิ่นหรือโพลีเอสเตอร์เรซิ่น

เรซิ่นหรือโพลีเอสเตอร์เรซิ่นเป็นพลาสติกชนิดหนึ่ง ปกติจะอยู่ในรูปของเหลวข้นเหนียวเหมือนน้ำมันเครื่อง มีกลิ่นฉุน เรซิ่นสามารถหล่อเป็นรูปต่างๆได้ตามแบบพิมพ์ โดยจะผสมกับเคมีบางอย่างเพื่อทำให้เกิดปฏิกิริยาแข็งตัวและเมื่อแข็งตัวแล้วจะไม่สามารถกลับคืนให้เหลวได้อีก ปัจจุบันเรซิ่นนิยมใช้กันแพร่หลายมากทั้งในงานไฟเบอร์กลาส สินค้ากิ๊ฟชอป ตุ๊กตา เครื่องประดับ กระดุม ฯลฯ ในการทำชิ้นงานจากเรซิ่นแรกๆอาจจะดูยุ่งยากแต่หากลองทำดูสัก2-3ครั้งก็จะรู้สึกง่าย สำหรับการหล่อเรซิ่นที่จะแนะนำให้ทดลองทำกันในครั้งแรกคือตัวติดตู้เย็นเพราะขั้นตอนเข้าใจง่าย ตัวติดตู้เย็นที่ทำจากเรซิ่นจะสวยงามกว่าที่ทำจากปูนปลาสเตอร์เพราะเรซิ่นสามารถให้รายละเอียดได้มาก
กว่าและแข็งแรงกว่าปูนปลาสเตอร์มาก
" หากท่านเคยหล่อปูนปลาสเตอร์มาแล้ว (ซึ่งง่ายมาก ผสมปูนกับน้ำแล้ว
เทลงในพิมพ์ได้เลย) จะสามารถเข้าใจได้ง่ายมากเพียงแต่เรซิ่นต้อง
ผสมส่วนผสมมากกว่านิดหน่อย ก่อนเทลงในพิมพ์ "
วัสดุอุปกรณ์ ส่วนแม่พิมพ์












- ยางซิลิโคน มีลักษณะเหลวข้นเหมือนกาว เมื่อเติมตัวทำให้แข็งลงไปจะทำให้แข็งตัวคล้ายยาง แต่มีคุณสมบัติเหนือกว่ายางธรรมชาติคือ รักษารูปทรงได้ดีกว่า ทนความร้อนได้สูงกว่า จึงเหมาะสมที่จะนำมาทำแม่พิมพ์


-ตัวทำให้แข็งซิลิโคน ลักษณะเหลวใส ใช้ใส่ในซิลิโคน เพื่อให้ซิลิโคนแข็งตัว

ส่วนประกอบของการหล่อเรซิ่นเอสเตอร์เรซิ่น สำหรับ


เบอร์ที่นิยมใช้ในงานหล่อต่างๆ จะใช้เบอร์ PC-600-8
ตัวช่วยเร่งปฏิกิริยา ใช้ผสมกับเรซิ่นเพื่อเร่งให้เกิดปฏิกิริยาแข็งตัว มีลักษณะเป็นของเหลวสีม่วง บางทีเรียกว่า ตัวม่วง เมื่อผสมลงในเรซิ่นทำให้เรซิ่นมีสีออกชมพูอ่อนๆ ใส่ลงไปเพียง 0.2-0.5%ก็พอ อาจทำการผสมไว้ก่อนเมื่อจะใช้งานก็เพียงนำมาผสมตัวทำให้แข็งได้เลย
ตัวทำให้แข็ง (Hardener) ใช้ผสมเรซิ่น เพื่อให้เรซิ่นแข็งตัว มีลักษณะเหลวใสมีกลิ่นฉุน ใช้ในปริมาณ 1-2 % ของเรซิ่น
ส่วนประกอบเสริมอื่นๆ
- ผงทัลคัม เป็นผงสืขาวเหมือนแป้งเด็ก ใช้ผสมกรณีไม่ต้องการให้เนื้อเรซิ่นใส เมื่อผสมลงไปทำให้เรซิ่นทึบแสง เบาขึ้น แล้วยังเป็นการ
เพิ่มเนื้อเรซิ่นอีกด้วย ปกติจะใช้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของเรซิ่น
- สีผสมเรซิ่น กรณีต้องการเรซิ่นสีต่างๆ มีลักษณะเหลวข้นเหมือนจาระบี หรืออาจใช้สีน้ำมันธรรมดาก็ได้
- ภาชนะผสม ไม้กวน และอาซืโตนหรือ ทินเนอร์ไว้ล้างอุปกรณ์









- ภาพประกอบจากหนังสือ เรซิ่น ของ อาจารย์ปัทมารัตน์ อุปติ
- อาจมีการใช้น้ำยาถอดแบบ พีวีเอ ใช้ทาบนผิวชิ้นงานในบริเวณที่ไม่ต้องการให้เรซิ่นหรือ ซิลิโคนติดต้นแบบ มีลักษณะเหมือนกาวน้ำ

..................




กรณีมีแม่พิมพ์อยู่แล้ว
สามารถทำการหล่อได้เลย ตามวิธีการดังนี้
เทเรซิ่นลงในภาชนะผสม กะปริมาณให้เหมาะสมกับจำนวนหรือขนาดที่ต้องการหล่อ ใส่ตัวเร่ง(ตัวม่วง)
ลงไป 0.5 % กวนให้เข้ากัน (สามารถผสมเรซิ่นกับตัวเร่งเตรียมไว้ปริมาณมากๆก็ได้)

ถ้าต้องการให้ทึบแสง ใส่ทัลคัมลงไปครึ่งหนึ่งของเรซิ่น กวนเข้ากัน แล้วใส่สีตามต้องการ
ใส่ตัวทำให้แข็ง(ฮาร์ดเดนเนอร์)ลงไป 1-2 % สามารถเพิ่มได้ถ้าชำนาญจะทำให้แข็งเร็วขึ้น ถ้ามากเกินจะแตกร้าวได้

กวนเข้ากันแล้วเทลงในพิมพ์ ตามต้องการ ทิ้งให้แข็งตัว (เรซิ่น 30-40 กรัม ใช้ตัวทำแข็ง 15-30 หยด)
ตกแต่งด้วยสีน้ำมัน ถ้าทำแม่เหล็กติดตู้เย็นก็เอาแม่เหล็กมาติดด้านหลังด้วยปืนยิงกาว


กรณีเป็นงานเต็มตัวเช่นตุ๊กตา จะต้องใช้แม่พิมพ์ซิลิโคนชนิดถก เหมือนแม่พิมพ์ หล่อปูนปลาสเตอร์ ที่มีจำหน่ายตามมุมเครื่องเขียนในห้างเพียงแต่ทำด้วยซิลิโคน
เรื่องและภาพจากเวปไซท์อาชีพดอทคอม
http://www.108ideajobs.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=404630&Ntype=19
















วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

52101408 โดนัลด์ ทรัมป์ สุดยอดเจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์

โดนัลด์ จอห์น ทรัมป์ (อังกฤษ: Donald John Trump) เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1946
ในการจัดอันดับมหาเศรษฐีระดับโลกของนิตยสารฟอร์บส์ในปี 2007 โดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในลาดับที่ 314 ของโลก ความร่ำรวยของเขานั้นมาจากมรดกและความสามารถเพิ่มพูนมรดกที่ได้รับมานี้ให้มีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยแหล่งของรายได้นั้นมาจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยเขามีทรัพย์สินทั้งหมด 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

โดนัลด์เป็นบุตรคนที่ 4 ใน 5 ของเฟรด ทรัมป์ เศรษฐีผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในนิวยอร์กซิตี พ่อของเขาจะสร้างบ้านที่มีราคาปานกลาง แต่จะเน้นลดต้นทุนของบ้านรวมทั้งเพิ่มความรวดเร็วในการสร้างบ้านทำให้เป็นจุดเด่นในการหาลูกค้าซื้อบ้านได้เร็วกว่าคู่แข่ง โดนัลด์ตอนอายุ 13 ปีได้ไปเรียนโรงเรียนเตรียมทหาร New York Mility Academy ซึ่งได้รับระเบียบวินัยอย่างดี
โดนัลด์ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากพ่อของเขาในเป้าหมายของอาชีพการเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ซึ่งในช่วงปิดเทอมโดนัลด์จะไปช่วยงานในไซด์ก่อสร้างรวมทั้งเข้าใจในหลักการต่อรอง คือ ต้องรู้ทันราคารับเหมาของผู้รับเหมาก่อนต่อจะต่อราคา หากมากไปก็ต่อราคา หากโดนกดราคาเขาก็จะไม่ทำ และ
ในครั้งจบการศึกษาจากโรงเรียนซาร์ตันแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย
ในปี ค.ศ. 1963 โดนัลด์ ทรัมป์ได้เข้าร่วมบริษัทของพ่อของเคา ทรัมป์ออร์กาไนเซชัน ส่วนใหญ่จะเป็นการควบคุมค่าเช่า ในการเรียบเก็บอพาทเมนต์

เริ่มงานเองโดยโดนัลด์ในวัย 27 ปี ย้ายมาในแมนแฮตตันสำรวจตลาดอสังหาริมทรัพท์ด้วยตนเองและในระหว่างได้สร้างสายพันธ์กับชมรมเลอคลับที่รวมไปด้วยนักธุรกิจใหญ่ทำให้สามารถกู้เงินในการปรับปรุงโรงแรมคอมมอดอร์ ซึ่งจากเดิมเป็นโรงแรมเก่าซึ่งอยู่เขตที่ชุกชุมใจกลางเมือง โดยการสร้างความแตกต่างให้อาคารเป็นแนวใหม่และปรับปรุงภายใน เลือกแกรนด์ไฮแอตต์กับครอบครัวพริตซ์เกอร์ มาดำเนินงานบริหารเนื่องแกรนด์ไฮแอตต์เนื่องจากยังไม่มีโรงแรมในนิวยอร์กเลย ทำให้การต่อรองนี้ง่ายขึ้น ทำให้ได้ข้อเสนอที่ดีที่สุด เขายังคงดำเนินงานทรัมป์ทาวเวอร์ในนิวยอร์ก โดยหลักการคือให้ด้านล่างเป็นร้านค้าข้างบนสำนักงานซึ่งจะใช้ประโยชน์ได้ครบบถ้วน รวมทั้งยังสร้างปรับปรุงอาคารให้สูงขึ้นเนื่องจากทำเลดีมีความต้องการมากรวมทั้งการสร้างตึกสูงทำให้มองวิวนิวยอร์กได้สวยขึ้น
หลายโครงการที่พักอยู่อาศัย โดยโดนัทด์ศึกษาทำเลในการสร้างเองก่อนตัดสินใจเพื่อให้รู้ความต้องการตลาดต่อมาทรัมป์ยังขยับขยายธุรกิจสู่อุตสาหกรรมการบิน และธุรกิจคาสิโนแอตแลนติกซิตี โดยเริ่มแรกโดนัทด์ เริ่มอนุญาติให้เปิดคาสิโนนั้นก็มีหลายคนเข้ามาทำคาสิโนแต่ถูกเทศบาลไม่อนุมัติบ้างถูกตรวจสอบให้สินบนบ้าง ส่งผลให้ในช่วงแรก ยังไม่มีใครสร้างได้ ดังนั้นโดนัทด์จึงรอเวลาจังหวะการลงทุน และจึงนำบทเรียนของคนก่อนได้นี้เป็นบทเรียนจึงได้ทำให้คาสิโนแอตแลนติกซิตีของโดนัทด์เป็นที่ประสบความสำเร็จรวมถึงการซื้อทัชมาฮาลคาสิโน จากครอบครัวครอสบี
แต่พอมาในตอนต้นทศวรรษที่ 1990 โดนัลด์ ทรัมป์ เริ่มประสบกับปัญหาการเงิน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ บริษัทอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งประสบปัญหาทางการเงิน เขามาถึงจุดตกต่าสุดเมื่อธนาคารบังคับให้เขาล้มละลายจากหนี้เงินกู้ 2 พันล้านดอลลาร์ที่ไม่สามารถหาเงินมาชำระคืนได้


แต่พอปลายทศวรรษที่ 1990 ธุรกิจของเขาก็เริ่มฟื้นตัวดีขึ้นเรื่อยๆ และในไม่กี่ปีต่อมาเขาก็สามารถฟื้นตัวจากภาวะล้มละลาย เขาได้เขียนเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์ที่เขาสามารถฟื้นตัวจากสภาวะล้มละลายมาได้เป็นหนังสือเล่มที่มีชื่อว่า The Art of the Comeback และเขาก็เขียนหนังสือเล่มอื่นๆ ตามมาเรื่อยๆ และเป็นหนังสือที่ขายดีมาก
หลังจากที่ฟื้นตัว นอกเหนือจากการทาธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์แล้ว โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เข้าไปลงทุนในธุรกิจทีวีในฐานะผู้ผลิตรายการ Miss USA, Miss Universe และ Miss Teen USA และยังมีรายการเรียลลิตี้โชว์อันโด่งดังคือ “The Apprentice” ทางช่องเอ็นบีซี ไม่น่าแปลกใจเลยเมื่อเขาเป็นมหาเศรษฐีติดอันดับบุคคลที่รวยที่สุดในโลก เจ้าของบริษัทประกวดนางงามหลายค่าย ทาให้ทรัมป์เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคนหนึ่งในสหรัฐ ชาวอเมริกัน 98% รู้จักโดนัลด์ ทรัมป
ปี2001 ทรัมป์เพลซ กลุ่มอาคารหลายหลังริมแม่น้ำฮัดสัน ทรัมป์ยังเป็นเจ้าของพื้นที่การค้าในทรัมป์อินเตอร์เนชันนอลแอนด์ทาวเวอร์ อาคาร 44 ชั้น (โรงแรมและคอนโดมิเนียมรวมกัน) ทรัมป์ยังเป็นเจ้าของพื้นที่หลายล้านตารางฟุต อสังหาริมทรัพย์ในแมนฮัตตันและยังถือเป็นบุคคลสำคัญทางด้านอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาและเป็นคนมีชื่อเสียงสำคัญกับสื่อมวลชน

Donald Trump 2008 ในวัย 61 มีธุรกิจมากมายมหาศาลทั่วโลก แต่ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ช่วงหลัง Trump หันมาจับธุรกิจบันเทิงด้วย เขายังมีชื่อเสียงอย่างมากจากความสาเร็จในการทารายการเรียลลิตี้โชว์ที่มีชื่อว่า “The Apprentice” ถือเป็นรายการที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดรายการหนึ่งในสหรัฐฯ ซึ่งบรรดาผู้เข้าแข่งขันจะต้องมาแสดงความสามารถในการบริหารงานธุรกิจ รายการนี้จะเป็นการสรรหาพนักงานที่มีคุณภาพเพื่อมาทางานในอาณาจักรธุรกิจทรัมป์ โดยเขาเป็นผู้ลงมือฝึกเอง ตั้งแต่การเตรียมตัวเข้าหางาน งานธุรการทั่วไป งานพัสดุ การเงินและบัญชี กฎข้อบังคับของบริษัท วินัยของพนักงาน และสิ่งอื่นๆ ที่ควรรู้หากเข้าทำงานในอาณาจักรธุรกิจทรัมป์

ในรายการนี้ มีหนุ่มสาวที่สาเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยไปสมัครกันมากมาย โดยจะมีการคัดคนออกไปเรื่อยๆ จากนั้นผู้ที่ผ่านการคัดเลือก 18 คน จะถูกส่งเข้าไปอยู่ในบ้านแบบเรียลลิตี้โชว์ เพื่อฝึกปฏิบัติงานและดูท่วงทีวาจากิริยาท่าทีในการทางาน เพื่อชิงรางวัลก็คือได้ทางานกับหนึ่งในบริษัทของทรัมป์ เป็นเวลา 1 ปี ซึ่งมีค่าเหนื่อยอย่างงามถึง 250,000 เหรียญสหรัฐฯ โดยเขาทาหน้าที่เป็นทั้งผู้อานวยการผลิต (executive producer) และผู้ดาเนินรายการ เขามีทรงผมที่เป็นเอกลักษณ์ และมีวลีที่ฮิตติดปากคนทั่วไปที่โด่งดังจากรายการของเขาว่า “คุณถูกไล่ออกแล้ว” ซึ่งด้วยความที่เขาเป็นคนที่เปิดเผยและปรากฏตัวในสื่ออยู่ตลอดเวลาทาให้เขากลายเป็นนักธุรกิจคนดังที่เป็นที่รู้จักกันมากและเป็นบุคคลสาธารณะ
เส้นทางนักพัฒนาธุรกิจของโดนัลด์ ทรัมป์
เปรียบเทียบคุณ โดนัลด์ ทรัมป์ กับตนเอง
-ในช่วงเริ่มต้นพื้นฐานครอบครัว และฐานะของตนเอง โดนัลด์ ทรัมป์ ดีกว่าของผม
-การศึกษาของตนเองสูงกว่า ของคุณโดนัลด์ ทรัมป์ ในช่วงเริ่มต้นดำเนินธุรกิจ
สรุป โดยพื้นฐานแล้ว โดนัทด์ ทรัมป์ และผม มีฝันในการขับเคลื่อนเหมือนกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ
ความคิดใหญ่ ความกล้าทำงานใหญ่ ความไม่ย่อท้อ ทำให้คุณ โดนัลด์ ทรัมป์ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ กิจการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีฐานะทางการเงินมั่นคง เป็นเศรษฐีและนักธุรกิจ ที่สำคัญคนหนึ่งของโลก ซึ่งผมชื่นชอบมากในการคิดใหญ่ โดยท่านเข้าใจในธุรกิจโดยการหาข้อมูลอย่างจริงจังในแต่ละครั้งซึ่งการได้ข้อมูลผิดเพียงแค่ย่างก้าวอาจทำให้ธุรกิจพังได้ดังเช่นท่านในช่วงปี 90 และท่านกล้าลุกขึ้นสร้างธุรกิจ จากหนี้ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ กับลุกขึ้นมหาเศรษฐีระดับโลกของนิตยสารฟอร์บส์ในปี 2007 ลำดับที่ 314 ของโลก
คติประจำใจ

เพียรพยายาม คือ ความแตกต่างระหว่างความสำเร็จกับความล้มเหลว

จาก โดนัลด์ จอห์น ทรัมป์

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

แผนธุรกิจสำคัญอย่างไร ตอนที่ 2

ขั้นตอนการทำแผนธุรกิจในทางปฏิบัติ

4. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (environmental analysis)

สภาพแวดล้อมที่ธุรกิจกำลังเผชิญอยู่เป็นอย่างไร สภาพแวดล้อมในที่นี้หมายถึง ปัจจัยแวดล้อมด้านเศรษฐกิจสังคมและการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่ธุรกิจนี้อยู่นั้นเป็นอย่างไร เมื่อศึกษาเสร็จแล้วควรจะทำให้เห็นภาพพจน์ด้วยว่าสภาพแวดล้อมเหล่านั้นมีผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร ในทิศทางบวกหรือลบ ความรุนแรงจะมีมากน้อยและจะมีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจเพียงใด ดังนั้นความน่าเชื่อถือของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมจึงขึ้นอยู่กับการรวบรวมข้อมูลที่จัดหามาได้ ซึ่งถ้าข้อมูลมีน้อยเกินไป การตัดสินใจอาจมีความผิดพลาดได้ อันนี้เปรียบเหมือนการทำการรบ ซึ่งควรจะมีข้อมูลด้านชัยภูมิที่ตั้ง รวมทั้งคู่แข่งขันให้มากพอเพื่อจะนำไปใช้วางแผน หรือกำหนดกลยุทธ์ในการรบต่อไป เข้าตำราของซุนวูที่ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” นั่นเอง

ในกรณีตัวอย่างร้านอาหาร Fast Food “Rice-San” ผู้เขียนจะลองสรุปการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ซึ่งขอออกตัวก่อนว่า อาจจะไม่สมบูรณ์ เนื่องจากเวลามีจำกัด แต่ก็คงจะให้ภาพชัดเจนแก่ผู้ที่เริ่มต้นทำธุรกิจได้พอสมควร

การวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

ระบบการเมือง เศรษฐกิจและสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งการตื่นตัวและการมีส่วนร่วนทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย เศรษฐกิจที่มีการขยายตัวอย่างมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในแถบเอเซียด้วยกัน ทางด้านสังคมและวัฒนธรรมจากสังคมเกษตรกรรมที่มีวิถีการดำเนินชีวิตเรียบง่าย ก็มีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตมาก

สาเหตุหลักประการหนึ่งที่ส่งผลให้ไทยมีการขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ เป็นผลมาจากกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรม (industrialization) ซึ่งทำให้โครงสร้างการผลิตของระบบเสรษฐกิจโดยส่วนรวมเปลี่ยนจากเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมและบริการเป็นหลัก มีผลทำให้โครงสร้างความต้องการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปและก่อให้เกิดการพัฒนาเมือง (urbanization) ซึ่งส่งผลต่อฐานะทางเศรษฐกิจของประชากรกลุ่มต่างๆอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่ออำนาจซื้อของประชากรกลุ่มที่เรียกว่า “ชนชั้นกลาง” ในสังคมไทย ทั้งนี้เพราะการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมย่อมมีผลทำให้ความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในวิชาชีพเฉพาะสาขาต่างๆ นักวิชาการ นักบริหาร เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ทั้งนี้จากสถิติทางการของไทย Hewison(1996) พบว่าในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ผู้ที่ประกอบวิชาชีพจัดอยู่ในกลุ่ม ”ชนชั้นกลาง” ได้แก่ ผู้ประกอบอาชีพเฉพาะสาขา นักวิชาการ นักบริหาร พนักงานสำนักงาน พนักงานขาย รวมทั้งพนักงานในภาคบริการมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากประมาณ 1 ล้านคน ในปี 1960 เป็น 5 ล้านคน ในปี 1990 ซึ่งเมื่อพิจารณาในแง่ของสัดส่วนก็พบว่าเพิ่มขึ้นจากระดับ 10% เป็น 21% ของจำนวนผู้มีงานทำทั่วประเทศด้วย

ถ้าพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะ (profession) ก็พบว่าจากที่มีจำนวนไม่ถึง 50,000 คน ในปี 1937 ก็ได้เพิ่มขึ้นเป็น 350,000 คน และ 2,350,000 คน ในปี 1940 และ 1990 ตามลำดับ จากตัวเลขชุดเดียวกันนี้เรายังพบอีกด้วยว่า แนวโน้มที่สตรีจะออกไปทำงานนอกบ้านนั้นเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ โดยสัดส่วนสตรีที่ประกอบวิชาชีพเฉพาะ ได้เพิ่มจาก 23% ในปี 1960 เป็น 46%ในปี 1990 ซึ่งการที่สตีรได้เข้าสู่ตลาดแรงงานเพิ่มมากขึ้นนี้ก็มีส่วนทำให้วิถีการดำเนินชีวิต(life style) ของครอบครัวในเขตเมืองเปลี่ยนแปลงไปด้วย เนื่องจากการที่สตรีมีเวลาในการดูแลงานในบ้านลดลง ย่อมทำให้เกิดความต้องการสินค้าและบริการประเภทใหม่ๆที่สามารถ “ทดแทน” การทำงานบ้านเพิ่มมากขึ้น เช่น บริการซักรีดเสื้อผ้า บริการทำความสะอาด บริการอาหารปรุงสำเร็จรูป รวมทั้งการรับประทานอาหารนอกบ้าน เป็นต้น

เมื่อพิจารณาถึงการศึกษา ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ชนชั้นกลางแตกต่างจากแรงงานโดยทั่วไป เพราะเป็นแรงงานที่ใช้ ”สมอง” มากกว่า “แรงกาย” ก็จะพบว่าการศึกษาของไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับเช่นกัน จากการที่มหาวิทยาลัยในประเทศไทยมีขีดความสามารถในการผลิตบัณฑิตเพิ่มขึ้น ทั้งนี้จากสถิติจำนวนนักศึกษาที่จดทะเบียนเรียนในระดับอุดมศึกษา (enrollment basis) จะเห็นได้ว่าเพิ่มขึ้นจากระดับเพียง 15,000 คน ในปี 1961 เป็น 100,000 คน ในปี 1972(จากมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชนรวมกันทั้งสิ้น 30-40 แห่งทั่วประเทศ) ทำให้คาดว่าในปัจจุบันนี้ จำนวนผู้จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยจะมีไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน) เพิ่มขึ้นจากที่มีเพียง 185,000 คน ในปี 1970 กว่า 10 เท่าตัว

และนับตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวแทบทุกด้านด้วยอัตราสูงเป็นประวัติการณ์ จนธนาคารโลกจัดให้ไทยเป็นหนึ่งในเอเซียตะวันออกที่มีการขยายตัวและการธำรงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนบุคลากรในสาขาอาชีพต่างๆ เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิศวกร ช่างเทคนิค นักการเงินและผู้บริหารระดับกลางได้กลายเป็นทรัพยากรหายากที่เป็นที่ต้องการในตลาดซึ่งจากผลดังกล่าวนี้ ทำให้อำนาจซื้อของชนชั้นกลางเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในระยะ 1 ทศวรรษที่ผ่านมา
นอกจากกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าวจะส่งผลต่อฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนแล้วยังมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและประชากรด้วย กล่าวคือ เนื่องจากอัตราการเจริญพันธุ์ (fertility rate) ของประชากรโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา ทำให้อัตราการขยายตัวของประชากรชะลอตัวลง ซึ่งทำให้ประชากรที่มีอายุช่วง 15-34 ปี มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีผลทำให้ครอบครัวมีขนาดเล็กลงตามลำดับ ซึ่งจากการศึกษาของนักวิชาการทางด้านประชากรศาสตร์คาดว่าแนวโน้มดังกล่าวจะดำเนินต่อไป โดยมีการคาดการณ์ว่าจำนวนสมาชิกโดยเฉลี่ยของครอบครัวคนไทยจะลดลงไปจากระดับ 5 คน ในปี 1987 เหลือเพียง 3.7 คน เท่านั้น ในปี 2005

การที่สังคมไทยมีแนวโน้มจะพัฒนาไปสู่สังคม”ครอบครัวเดี่ยว”(nuclear family) เพิ่มขึ้นเช่นนี้ย่อมมีนัยสำคัญอย่างมากต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของครัวเรือน ทั้งนี้เพราะการที่ขนาดของครัวเรือนเล็กลง หมายความว่าจำนวนสมาชิกที่เป็นภาระในครอบครัวย่อมมีจำนวนลดลง ทำให้ผู้หาเลี้ยงครอบครัวมีงบประมาณสำหรับสมาชิกที่เป็นภาระแต่ละคนเพิ่มขึ้น ดังนั้นพฤติกรรมการใช้จ่ายย่อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่มุ่งในเชิง”ปริมาณ”เป็นหลักหันมาเน้นในเชิง”คุณภาพ”เพิ่มขึ้น

หากพิจารณาเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ประมาณว่าปัจจุบันมีผู้มีรายได้ที่จัดอยู่ในกลุ่มของคนทำงานสำนักงาน (white collar) เป็นสัดส่วนถึงประมาณ 1 ใน 3 และถ้าพิจารณาถึงระดับรายได้ครัวเรือนแล้ว จะมีครัวเรือนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจจัดอยู่ในระดับชนชั้นกลางขึ้นไปถึง 54% ด้วยอำนาจซื้ออันมหาศาลดังกล่าวนี้เอง จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า คอนวีเนี่ยนสโตร์รวมทั้งอาหารแฟรนไชส์ของอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดจากประเทศตะวันตกผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั่วกรุงเทพฯ ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา
ข้อที่น่าสังเกตก็คือ แม้ว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมดังกล่าวจะยังคงกระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นหลัก แต่กระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ดูเหมือนว่ามีแนวโน้มที่จะกระจายตัวออกไปยังตัวเมืองใหญ่ๆ ในเขตภูมิภาคอย่างช้าๆ แล้วด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพราะในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้หันมาดำเนินนโยบายในด้านการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลให้มีการย้ายอุตสาหกรรมจากเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลไปสู่เขตภูมิภาค (regional industrialization) และก่อให้เกิดการพัฒนาเมืองมากยิ่งขึ้นใน 5-10 ปีข้างหน้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนในลักษณะที่เกิดขึ้นกับกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในช่วงที่ผ่านมา

เห็นตัวอย่างข้างต้นนี้แล้วไม่ต้องตกใจครับว่าเวลาปฏิบัติจริงๆ จะต้องเขียนออกมาอย่างนี้หรือเปล่า ผู้เขียนเองคาดหวังเพียงว่า ผู้ประกอบการสามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนตรงประเด็นว่า สภาพแวดล้อมสำหรับธุรกิจท่านเป็นอย่างไร ท่านทราบได้อย่างไร แม้จะเขียนได้ไม่ดีก็ไม่เป็นไรครับ แต่ต้องให้แน่ใจว่าท่านทราบจริงๆไม่หลอกตัวเอง ในครั้งต่อไปเราจะลองวิเคราะห์ขั้นตอนและวิธีที่จะทำให้ท่านทราบข้อมูลอย่างเพียงพอเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและทราบถึงผลที่จะมีต่อธุรกิจของท่าน

แผนธุรกิจสำคัญอย่างไร ตอนที่ 1

ถ้าคุณมีที่ปรึกษาทางธุรกิจ และคุณขอคำแนะนำจากเขาว่า คุณกำลังจะเริ่มทำธุรกิจ คุณจะต้องทำอะไรบ้าง สิ่งหนึ่งที่คุณจะได้รับคำแนะนำก็คือ ให้คุณเริ่มต้นเตรียมจัดทำแผนธุรกิจหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Business Plan

แผนธุรกิจคืออะไร แผนธุรกิจ คือ แนวคือและรายละเอียดของโครงการธุรกิจที่เรากำลังจะทำมันควรจะอธิบายถึงเรื่องราวต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในธุรกิจทุกๆ ด้าน เช่น ด้านการตลาด การผลิต การเงิน และการจัดการ เป็นต้น ควรมีการกำหนดระยะเวลาของแผนธุรกิจด้วย เช่น ในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า ซึ่งรายละเอียดและการวิเคราะห์ข้อมูลในแผนจะทำให้ผู้ประกอบ

ก่อนที่จะจัดทำแผนธุรกิจ ผู้ประกอบการควรตั้งคำถามไว้ 3 ประการก่อน

- จะเติบโตอย่างไร คือการตอบคำถามว่าจะต้องเพิ่มทรัพยากรอีกเท่าใด จึงจะทำให้บรรลุเป้าหมาย ทรัพยากรในที่นี้ หมายถึง ทรัพยากรบุคคล ทุน เทคโนโลยี เครื่องจักร หรือสินทรัพย์ต่างๆ ที่จะนำไปสร้างให้เกิดรายได้ของ องค์กร

- จะเติบโตในทิศทางใด คือการตอบคำถามว่าจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ไปสร้างให้เกิดรายได้ในผลิตภัณฑ์ หรือบริการใดบ้าง ผลิตภัณฑ์ หรือบริการชนิดใดควรเป็นผลิตภัณฑ์หลัก หรือบริการหลักของบริษัท

- จะเติบโตบรรลุเป้าหมายได้เมื่อใด คือการตอบคำถามว่าบริษัทจะแบ่งเป้าหมายดังกล่าวออกเป็นช่วงเวลาอย่างไร ใน 1 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี ข้างหน้าต้องการเป้าหมายต่างกันอย่างไร ทั้งนี้จะทำให้บริษัทวางแผนการใช้ทรัพยากรในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสม

ประโยชน์ของการจัดทำแผนธุรกิจ

1. ช่วยบอกรายละเอียดของงาน ขั้นตอนในการดำเนินงาน และระยะเวลา ซึ่งช่วยให้การตัดสินใจทำธุรกิจเป็นไปมั่นใจ เนื่องจากมีข้อมูลอย่างเพียงพอ และทราบถึงทิศทาง และเป้าหมายที่ต้องการ

2. ช่วยสร้างวินัยในการทำงานให้กับผู้ประกอบการ เนื่องจากจะมีแผนเป็นกรอบ และเป็นตัวกำหนดการทำงานของผู้ประกอบการ และเมื่อมีผลงานที่ดีเกิดขึ้นจริง จะต้องนำมาเปรียบเทียบกับแผนธุรกิจ ว่าแตกต่างที่ใดและต้องแก้ไขปรับปรุงหรือไม่อย่างไร

3. ใช้เป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ เพื่อเสนอต่อผู้ร่วมทุน หรือสถาบันการเงินในการจัดหาเงินทุนสำหรับกิจการ

4. ใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกบุคลากรให้เหมาะสมกับกิจการ เพราะตามแผนธุรกิจจะทำให้เราทราบว่าควรจะใช้บุคลากร ที่มีคุณสมบัติอย่างไร ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของธุรกิจ


หาผู้ร่วมทุน มีข้อคิดว่าจะต้องรู้ด้วยว่าผู้ร่วมทุนอยากรู้อะไร เพราะโดยทั่วไปแล้วผู้ประกอบการกับผู้ร่วมทุนมักจะคิดต่างกัน ผู้ประกอบการมักจะบอกว่าถ้าปฏิบัติไปอย่างถูกต้องตามนี้ ภายใต้เงื่อนไขนี้ จะเกิดอะไรขึ้น ส่วนผู้ร่วมทุนมักจะมองโลกในแง่ร้ายมากกว่า โดยจะมองว่าถ้าไม่ปฏิบัติตามนี้ จะเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจ ดังนั้นการจัดทำแผนธุรกิจ โดยเฉพาะในส่วนการวิเคราะห์เกี่ยวกับตัวเลข จึงมักจะมีการทำในสิ่งที่เรียกว่า การวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ (Sensitivity Analysis) ว่าในกรณีปกติ (Base Case) หรือกรณีเลวร้าย (Worse Case) จะมีผลกระทบต่อโครงการอย่างไร


อย่าลืมว่าผู้ร่วมทุนมักจะเป็นนักลงทุนประเภทต้องการผลตอบแทนสูงสุด และความเสี่ยงต่ำสุด ดังนั้นถ้าเราสามารถอธิบายให้เขาเห็นได้ว่า ในสถานการณ์ความเสี่ยงสูงที่สุด (ที่คิดว่าเขาจะยอมรับได้) ผลตอบแทนจากการลงทุนยังอยู่ในระดับที่เขาพอใจ การยอมรับโครงการและการร่วมทุนจึงจะบังเกิดขึ้นได้


ขั้นตอนการทำแผนธุรกิจในทางปฏิบัติ

สมติว่าท่านอยากจะทำธุรกิจร้านอาหารแบบ Fast Food โดยขายอาหารประเภทข้าวไก่ทอด ข้าวหมูทอด แบบญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ Rice-San โดยเปิดร้านในศูนย์การค้า หรือในบริเวณชุมชนที่มีความหนาแน่น

การจัดทำแผนธุรกิจในทางปฏิบัติ สรุปเป็นขั้นตอนดังนี้

1) กำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดทำ
การจัดทำแผนธุรกิจอาจมีหลายวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อเสนอต่อผู้ถือหุ้นหรือผู้ร่วมลงทุนหรือเพื่อเสนอต่อสถาบันการเงินเพื่อขอสินเชื่อ เป็นต้น สำหรับในกรณีตัวอย่างนี้ เนื่องจากเป็นกิจการตั้งใหม่การจัดทำแผนธุรกิจจึงควรนำเสนอต่อผู้ถือหุ้นก่อนเพราะเป็นเจ้าของกิจการ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้เห็นทิศทางและแผนการดำเนินงานในระยะต่อไป เช่น

1. เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ภายใต้ชื่อ Rice-San
2. เพื่อกำหนดทิศทางและแผนการดำเนินงานในช่วง 5 ปี (ปี 1996-2000)

ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายนำไปสู่การจัดการที่ดีและความสำเร็จในการประกอบการ

2) กำหนดภารกิจ (Mission) ของธุรกิจนี้
ภารกิจในที่นี้หมายถึงเป้าหมายสูงสุดที่ธุรกิจนี้อยากให้ไปถึงเป้าหมายนี้มักจะเป็นเป้าหมายรวมขององค์กรไม่ใช่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะและมักจะมีลักษณะค่อนข้างจะเป็นนามธรรม เช่น “ต้องการทำให้ Rice-San เป็นผู้นำตลาดร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดประเภทข้าว ภายในปี 2000”

เราอาจสรุปได้ว่า องค์ประกอบที่ดีของภารกิจ ควรสรุปได้ 2 ประเด็น ได้แก่

1. ควรตอบคำถามได้ว่าเรากำลังอยู่ในธุรกิจอะไร (What business are we in?)
ซึ่งในกรณีนี้ Rice-San ตอบว่า ตนอยู่ในธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด

2. ควรตอบคำถามได้ว่า เป้าหมายโดยรวมขององค์กรคืออะไร ในกรณีตัวอย่างนี้ Rice-San ต้องการเป็นผู้นำตลาดในธุรกิจร้านอาหารแบบฟาสต์ฟู้ด แต่เนื่องจากอุตสาหกรรมร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดมีการแข่งขันรุนแรง และมีลักษณะกิจการหลายประเภท เช่น เบอร์เกอร์ ไก่ทอด โดนัท สุกี้ ข้าว เป็นต้น การจะตอบว่าเป็นผู้นำตลาดของร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดประเภทข้าวจึงจะทำให้เป้าหมายโดยรวมเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ในทางปฏิบัติ

3.) การกำหนดเป้าหมายทางธุรกิจ
วิธีการก็คือให้มองว่าภาพของธุรกิจของเราคืออะไร ตามตัวอย่างนี้ภาพที่เป็นรูปธรรมของ Rice-San ก็คือ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นข้าวหน้าต่างๆ และผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะไปปรากฏอยู่ในร้าน Rice-San ในที่ต่างๆภาพในความคิดต่อไปก็คือมีลูกค้ามาใช้บริการหรือบริโภคผลิตภัณฑ์ในร้าน Rice-San หรือนำกลับไปบริโภคกันอย่างมากมาย เมื่อมองเห็นภาพแล้ววิธีการต่อไปก็คือ การแยกภาพนั้นออกตามระยะเวลาว่าภาพใดจะเกิดก่อน เกิดหลัง เมื่อใดและแต่ละช่วงเวลานั้นแต่ละภาพมีจำนวนเท่าใด วิธีการนี้จะทำให้ได้เป้าหมายออกมา และการดำเนินงานได้บรรลุตามเป้าหมายจึงจะทำให้ภาระกิจที่กำหนดไว้บรรลุไปด้วย การกำหนดเป้าหมายทางธุรกิจของตัวอย่างนี้สามารถสรุปได้ดังนี้

1.1 ประเภทของสินค้าและบริการ

แผนธุรกิจที่วางไว้ในช่วงปี 1996-2000

ผลิตภัณฑ์

ปีที่เริ่ม

1) ข้าวหน้าไก่ทอด, ข้าวหน้าหมูทอด ในลักษณะ Fast Food บริการในร้าน (Rice-San Shop)
2) ข้าวหน้าไก่ทอด, ข้าวหน้าหมูทอด ในลักษณะ Fast Food แบบนำกลับอย่างเดียว (Rice-San Shop)

1996


1997


1.2 เป้าหมายการเติบโต


รวม

1996

1997

1998

1999

2000

ร้านอาหารแบบสาขา
จำนวนที่เพิ่ม
จำนวนสะสม


45
45


3
3


7
10


10
20


12
32


13
45

จุดขายแบบนำกลับ
จำนวนที่เพิ่ม
จำนวนสะสม


50
50


-
-


5
5


10
15


15
30


20
50

ร้านอาหารแบบ Franchise
จำนวนที่เพิ่ม
จำนวนสะสม


25
25


-
-


-
-


2
2


8
10


15
25


การกำหนดจำนวนของการเติบโตนั้นขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้ประกอบการจริงๆ ว่าเป็นคนแบบอนุรักษ์นิยมหรือแบบชอบเสี่ยง ไม่มีแบบไหนที่จะถูกหรือผิด ต้องดูกำลังความสามารถของตัวเองเป็นสำคัญ ถ้าท่านกำหนดน้อยไป ท่านก็อาจไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ถ้ากำหนดมากไปก็จะไปฟ้องเอาตรงเงินทุนว่าท่านมีความสามารถมากน้อยแค่ไหน ซึ่งพอไปทำเป็นแผนรายละเอียดจะพบว่าเป็นไปไม่ได้ ท่านก็อาจกลับมาปรับแก้ไขเป้าหมายในส่วนนั้นเสียใหม่ก็ได้


ลักษณะบริการ

ปีที่เริ่ม

1) ร้านอาหารแบบสาขาของตนอง
2) จุดขายแบบนำกลับอย่างเดียว
3) ร้านอาหารแบบ Franchise

1996
1997
1998