วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

แผนธุรกิจสำคัญอย่างไร ตอนที่ 1

ถ้าคุณมีที่ปรึกษาทางธุรกิจ และคุณขอคำแนะนำจากเขาว่า คุณกำลังจะเริ่มทำธุรกิจ คุณจะต้องทำอะไรบ้าง สิ่งหนึ่งที่คุณจะได้รับคำแนะนำก็คือ ให้คุณเริ่มต้นเตรียมจัดทำแผนธุรกิจหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Business Plan

แผนธุรกิจคืออะไร แผนธุรกิจ คือ แนวคือและรายละเอียดของโครงการธุรกิจที่เรากำลังจะทำมันควรจะอธิบายถึงเรื่องราวต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในธุรกิจทุกๆ ด้าน เช่น ด้านการตลาด การผลิต การเงิน และการจัดการ เป็นต้น ควรมีการกำหนดระยะเวลาของแผนธุรกิจด้วย เช่น ในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า ซึ่งรายละเอียดและการวิเคราะห์ข้อมูลในแผนจะทำให้ผู้ประกอบ

ก่อนที่จะจัดทำแผนธุรกิจ ผู้ประกอบการควรตั้งคำถามไว้ 3 ประการก่อน

- จะเติบโตอย่างไร คือการตอบคำถามว่าจะต้องเพิ่มทรัพยากรอีกเท่าใด จึงจะทำให้บรรลุเป้าหมาย ทรัพยากรในที่นี้ หมายถึง ทรัพยากรบุคคล ทุน เทคโนโลยี เครื่องจักร หรือสินทรัพย์ต่างๆ ที่จะนำไปสร้างให้เกิดรายได้ของ องค์กร

- จะเติบโตในทิศทางใด คือการตอบคำถามว่าจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ไปสร้างให้เกิดรายได้ในผลิตภัณฑ์ หรือบริการใดบ้าง ผลิตภัณฑ์ หรือบริการชนิดใดควรเป็นผลิตภัณฑ์หลัก หรือบริการหลักของบริษัท

- จะเติบโตบรรลุเป้าหมายได้เมื่อใด คือการตอบคำถามว่าบริษัทจะแบ่งเป้าหมายดังกล่าวออกเป็นช่วงเวลาอย่างไร ใน 1 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี ข้างหน้าต้องการเป้าหมายต่างกันอย่างไร ทั้งนี้จะทำให้บริษัทวางแผนการใช้ทรัพยากรในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสม

ประโยชน์ของการจัดทำแผนธุรกิจ

1. ช่วยบอกรายละเอียดของงาน ขั้นตอนในการดำเนินงาน และระยะเวลา ซึ่งช่วยให้การตัดสินใจทำธุรกิจเป็นไปมั่นใจ เนื่องจากมีข้อมูลอย่างเพียงพอ และทราบถึงทิศทาง และเป้าหมายที่ต้องการ

2. ช่วยสร้างวินัยในการทำงานให้กับผู้ประกอบการ เนื่องจากจะมีแผนเป็นกรอบ และเป็นตัวกำหนดการทำงานของผู้ประกอบการ และเมื่อมีผลงานที่ดีเกิดขึ้นจริง จะต้องนำมาเปรียบเทียบกับแผนธุรกิจ ว่าแตกต่างที่ใดและต้องแก้ไขปรับปรุงหรือไม่อย่างไร

3. ใช้เป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ เพื่อเสนอต่อผู้ร่วมทุน หรือสถาบันการเงินในการจัดหาเงินทุนสำหรับกิจการ

4. ใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกบุคลากรให้เหมาะสมกับกิจการ เพราะตามแผนธุรกิจจะทำให้เราทราบว่าควรจะใช้บุคลากร ที่มีคุณสมบัติอย่างไร ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของธุรกิจ


หาผู้ร่วมทุน มีข้อคิดว่าจะต้องรู้ด้วยว่าผู้ร่วมทุนอยากรู้อะไร เพราะโดยทั่วไปแล้วผู้ประกอบการกับผู้ร่วมทุนมักจะคิดต่างกัน ผู้ประกอบการมักจะบอกว่าถ้าปฏิบัติไปอย่างถูกต้องตามนี้ ภายใต้เงื่อนไขนี้ จะเกิดอะไรขึ้น ส่วนผู้ร่วมทุนมักจะมองโลกในแง่ร้ายมากกว่า โดยจะมองว่าถ้าไม่ปฏิบัติตามนี้ จะเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจ ดังนั้นการจัดทำแผนธุรกิจ โดยเฉพาะในส่วนการวิเคราะห์เกี่ยวกับตัวเลข จึงมักจะมีการทำในสิ่งที่เรียกว่า การวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ (Sensitivity Analysis) ว่าในกรณีปกติ (Base Case) หรือกรณีเลวร้าย (Worse Case) จะมีผลกระทบต่อโครงการอย่างไร


อย่าลืมว่าผู้ร่วมทุนมักจะเป็นนักลงทุนประเภทต้องการผลตอบแทนสูงสุด และความเสี่ยงต่ำสุด ดังนั้นถ้าเราสามารถอธิบายให้เขาเห็นได้ว่า ในสถานการณ์ความเสี่ยงสูงที่สุด (ที่คิดว่าเขาจะยอมรับได้) ผลตอบแทนจากการลงทุนยังอยู่ในระดับที่เขาพอใจ การยอมรับโครงการและการร่วมทุนจึงจะบังเกิดขึ้นได้


ขั้นตอนการทำแผนธุรกิจในทางปฏิบัติ

สมติว่าท่านอยากจะทำธุรกิจร้านอาหารแบบ Fast Food โดยขายอาหารประเภทข้าวไก่ทอด ข้าวหมูทอด แบบญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ Rice-San โดยเปิดร้านในศูนย์การค้า หรือในบริเวณชุมชนที่มีความหนาแน่น

การจัดทำแผนธุรกิจในทางปฏิบัติ สรุปเป็นขั้นตอนดังนี้

1) กำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดทำ
การจัดทำแผนธุรกิจอาจมีหลายวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อเสนอต่อผู้ถือหุ้นหรือผู้ร่วมลงทุนหรือเพื่อเสนอต่อสถาบันการเงินเพื่อขอสินเชื่อ เป็นต้น สำหรับในกรณีตัวอย่างนี้ เนื่องจากเป็นกิจการตั้งใหม่การจัดทำแผนธุรกิจจึงควรนำเสนอต่อผู้ถือหุ้นก่อนเพราะเป็นเจ้าของกิจการ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้เห็นทิศทางและแผนการดำเนินงานในระยะต่อไป เช่น

1. เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ภายใต้ชื่อ Rice-San
2. เพื่อกำหนดทิศทางและแผนการดำเนินงานในช่วง 5 ปี (ปี 1996-2000)

ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายนำไปสู่การจัดการที่ดีและความสำเร็จในการประกอบการ

2) กำหนดภารกิจ (Mission) ของธุรกิจนี้
ภารกิจในที่นี้หมายถึงเป้าหมายสูงสุดที่ธุรกิจนี้อยากให้ไปถึงเป้าหมายนี้มักจะเป็นเป้าหมายรวมขององค์กรไม่ใช่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะและมักจะมีลักษณะค่อนข้างจะเป็นนามธรรม เช่น “ต้องการทำให้ Rice-San เป็นผู้นำตลาดร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดประเภทข้าว ภายในปี 2000”

เราอาจสรุปได้ว่า องค์ประกอบที่ดีของภารกิจ ควรสรุปได้ 2 ประเด็น ได้แก่

1. ควรตอบคำถามได้ว่าเรากำลังอยู่ในธุรกิจอะไร (What business are we in?)
ซึ่งในกรณีนี้ Rice-San ตอบว่า ตนอยู่ในธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด

2. ควรตอบคำถามได้ว่า เป้าหมายโดยรวมขององค์กรคืออะไร ในกรณีตัวอย่างนี้ Rice-San ต้องการเป็นผู้นำตลาดในธุรกิจร้านอาหารแบบฟาสต์ฟู้ด แต่เนื่องจากอุตสาหกรรมร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดมีการแข่งขันรุนแรง และมีลักษณะกิจการหลายประเภท เช่น เบอร์เกอร์ ไก่ทอด โดนัท สุกี้ ข้าว เป็นต้น การจะตอบว่าเป็นผู้นำตลาดของร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดประเภทข้าวจึงจะทำให้เป้าหมายโดยรวมเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ในทางปฏิบัติ

3.) การกำหนดเป้าหมายทางธุรกิจ
วิธีการก็คือให้มองว่าภาพของธุรกิจของเราคืออะไร ตามตัวอย่างนี้ภาพที่เป็นรูปธรรมของ Rice-San ก็คือ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นข้าวหน้าต่างๆ และผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะไปปรากฏอยู่ในร้าน Rice-San ในที่ต่างๆภาพในความคิดต่อไปก็คือมีลูกค้ามาใช้บริการหรือบริโภคผลิตภัณฑ์ในร้าน Rice-San หรือนำกลับไปบริโภคกันอย่างมากมาย เมื่อมองเห็นภาพแล้ววิธีการต่อไปก็คือ การแยกภาพนั้นออกตามระยะเวลาว่าภาพใดจะเกิดก่อน เกิดหลัง เมื่อใดและแต่ละช่วงเวลานั้นแต่ละภาพมีจำนวนเท่าใด วิธีการนี้จะทำให้ได้เป้าหมายออกมา และการดำเนินงานได้บรรลุตามเป้าหมายจึงจะทำให้ภาระกิจที่กำหนดไว้บรรลุไปด้วย การกำหนดเป้าหมายทางธุรกิจของตัวอย่างนี้สามารถสรุปได้ดังนี้

1.1 ประเภทของสินค้าและบริการ

แผนธุรกิจที่วางไว้ในช่วงปี 1996-2000

ผลิตภัณฑ์

ปีที่เริ่ม

1) ข้าวหน้าไก่ทอด, ข้าวหน้าหมูทอด ในลักษณะ Fast Food บริการในร้าน (Rice-San Shop)
2) ข้าวหน้าไก่ทอด, ข้าวหน้าหมูทอด ในลักษณะ Fast Food แบบนำกลับอย่างเดียว (Rice-San Shop)

1996


1997


1.2 เป้าหมายการเติบโต


รวม

1996

1997

1998

1999

2000

ร้านอาหารแบบสาขา
จำนวนที่เพิ่ม
จำนวนสะสม


45
45


3
3


7
10


10
20


12
32


13
45

จุดขายแบบนำกลับ
จำนวนที่เพิ่ม
จำนวนสะสม


50
50


-
-


5
5


10
15


15
30


20
50

ร้านอาหารแบบ Franchise
จำนวนที่เพิ่ม
จำนวนสะสม


25
25


-
-


-
-


2
2


8
10


15
25


การกำหนดจำนวนของการเติบโตนั้นขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้ประกอบการจริงๆ ว่าเป็นคนแบบอนุรักษ์นิยมหรือแบบชอบเสี่ยง ไม่มีแบบไหนที่จะถูกหรือผิด ต้องดูกำลังความสามารถของตัวเองเป็นสำคัญ ถ้าท่านกำหนดน้อยไป ท่านก็อาจไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ถ้ากำหนดมากไปก็จะไปฟ้องเอาตรงเงินทุนว่าท่านมีความสามารถมากน้อยแค่ไหน ซึ่งพอไปทำเป็นแผนรายละเอียดจะพบว่าเป็นไปไม่ได้ ท่านก็อาจกลับมาปรับแก้ไขเป้าหมายในส่วนนั้นเสียใหม่ก็ได้


ลักษณะบริการ

ปีที่เริ่ม

1) ร้านอาหารแบบสาขาของตนอง
2) จุดขายแบบนำกลับอย่างเดียว
3) ร้านอาหารแบบ Franchise

1996
1997
1998






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น